เมื่อสุนัขถูกทิ้งกลายเป็นสุนัขจรจัด

สัตว์เลี้ยงถูกทิ้งโดยเฉพาะสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่เรารักและชอบทีสุด ตั้งแต่เด็ก ๆ จำความได้ก็เห็นสุนัขอยู่ที่บ้านแล้ว เรากับพี่ชายมีสุนัขเป็นของตัวเองจำได้ในรูปถ่ายตอนเด็กๆ เราอุ้มตัวสีดำเป็นสุนัขตัวเมีย พี่ชายเราอุ้มตัวสีลายเป็นสุนัขตัวผู้ นั้นคงเป็นสัตว์เลี้ยงตัวแรกของเรา 



บ้านเดิมตอนเด็ก ๆ จะล้อมรั้วกันไม่ให้สุนัขออกไปข้างนอก พวกเราเลี้ยงจนทั้งสองตัวออกลูก ออกหลาน ที่บ้านจะเลี้ยงดูอย่างดีฉีดยาทำหมัน จนกระทั้งที่บ้านเราย้ายบ้านไปอยู่ที่ใหม่ก็ยังเลี้ยงสุนัขกันอยู่ตลอดมา 




จนกระทั้งสุนัขตัวสุดท้ายของบ้านเริ่มแก่ลง พวกเราก็โตเป็นผู้ใหญ่แยกย้ายกันไปทำงาน ทุกคนที่บ้านต่างลงความเห็นว่าต่างฝ่ายต่างทำงานไม่มีใครดูแล เลยตัดสินใจจึงคุยกันว่าจะเลี้ยงสุนัขตัวนี้เป็นตัวสุดท้ายหากสุนัขนี้ตายก็จะต้องหยุดเลี้ยง หลังจากนั้นสุนัขของพวกเราก็ตายตามอายุขัยของมัน ที่บ้านก็ไม่เลี้ยงสุนัขอีกเลย 






หลายปีแล้วที่เราไม่ได้เลี้ยงสุนัข แต่เราก็ชอบมองเวลาเห็นใครเลี้ยงดูสุนัขด้วยความรัก ทุกๆครั้ง เวลาเห็นสุนัขจรจัดที่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างถนน หรือแม้แต่ที่อยู่ในวัดเราไม่ชอบใจเอาเลย รู้สึกโกรธคนที่เอามาทิ้ง ยังคิดว่าทำไม่ตอนที่อยากจะเลี้ยงก็เอามาเลี้ยง ไม่คิดให้ดีเสียก่อนว่าจะต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง พอเบื่อไม่รักเพราะไม่น่ารักเหมือนตอนเป็นลูกสุนัข หรือเลี้ยงสร้างความเดือนร้อนให้ที่บ้าน ก็เลยนำไปทิ้งบัดความรับผิดชอบให้กับคนในสังคม  ส่วนตัวเราไม่ค่อยมีเวลาได้กลับไปบ้านสักเท่าไร พอกลับไปเห็นน้องสาวสองคนเอาอาหาร เศษอาหารที่เหลือกินใส่ถุง เอาไปให้สุนัขจรจัดข้างถนนที่มีคนเอาไปทิ้งไว้  ที่ตรงนั้นเป็นที่ดินว่างๆ  ติดถนนห่างออกไปจากหมู่บ้านเล็กน้อย ตอนขับรถผ่านเราเห็นว่าที่ตรงนั้นมีสุนัขประมาณ 6-8 ตัวมาอยู่รวมกัน 


ภาพจาก Google


เมื่อก่อนเราจำได้ว่าที่ตรงนั้นไม่มีสุนัขเลยสักตัว น้องสาวบอกว่ามีคนเอามาทิ้งไว้ จากหนึ่งตัว กลายเป็นสองตัว และต่อไปเรื่อย ๆ  น้องสาวทั้งสองคนเป็นคนใจดีรักสุนัข ยิ่งไม่มีสุนัขที่บ้านแล้ว พอเห็นสุนัขตัวผอมโซไม่มีอะไรกินก็อยากจะช่วยเลยเอาอาหารไปให้ เห็นแบบนั้นก็บอกน้องว่า เอาอาหารไปให้สุนัขกินเป็นเรื่องที่ดีที่มีใจช่วยเหลือสัตว์ แต่มองในมุมกลับกันถ้าน้อง นำอาหารไปให้สุนัขกินบ่อย ๆ เป็นประจำ ใครๆ ที่เห็นจะก็ต้องคิดว่าน้องสาวเป็นเจ้าของสุนัข หากสุนัขไปกัดใคร หรือไปทำความเดือดร้อนให้กับใคร เค้าอาจจะมาตามที่น้องสาวก็ได้ ว่าน้องสาวเป็นเจ้าของสุนัขพวกนั้นเพราะนำอาหารไปให้พวกมันกิน 


ภาพจาก Google


สุนัขจรจัดไม่มีเจ้าของ ชอบวิ่งตามถนน เวลาเห็นใครขับมอเตอร์ไชค์ก็ไล่เห่าไม่หยุด พอมีสุนัขอยู่กันเยอะ ๆ เหมือนจะสร้างกลุ่มไล่คนที่ขับรถผ่านไปมาไม่หยุด เราคุยกับน้องจนเข้าใจ น้องสาวก็ไม่เอาอาหารไปให้สุนัขเหล่านั้นบ่อย ๆ นาน ๆ จะให้สักครั้ง เรารู้ว่าสิ่งที่ให้น้องหยุดทำเป็นเรื่องไม่ดี ไม่มีใจเมตตากรุณาต่อสัตว์ แต่เราก็ไม่อยากเป็นพวกโลกสวยแล้วน้องสาวเราจะเดือดร้อน  


ภาพจาก Google



หลังจากที่น้องสาวหยุดให้อาหารบ่อย ๆ  และหยุดให้ช่วงโรคพิษสุนัขระบาด น้องสาวบอกว่าสุนัขที่นั้นไปกัดคนที่ขับรถมอเตอร์ไชค์ ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาจัดการเพื่อความปลอดภัยของคนที่ใช้เส้นทางนั้น 


ภาพจาก Google



ทนายเกิดผล แก้วเกิด เปิดข้อกฎหมายไขคำตอบกรณีหมาจรจัดกัดคนใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ระหว่างคนที่ให้อาหารเป็นครั้งคราวด้วยความเมตตา  คนที่ให้อาหารหมาเป็นประจำ หรือ เทศบาล / อบต. / กรมปศุสัตว์ (จากข่าวคมชัดลึก) 





ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า หมาจรจัดที่คนให้อาหารเป็นครั้งคราว เป็นบางครั้งบางโอกาส ด้วยความเมตตา รวมถึงคนที่ให้อาหารประจำ แต่ไม่ใช่ผู้รับเลี้ยงรับผิดชอบชีวิตของสุนัขจรจัด ไม่ถือว่าเป็นเจ้าของสุนัขจรจัด มีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.764/2556 ที่อธิบายในเรื่องนี้ว่า การให้คำนิยามความหมายของคำว่า "เจ้าของสุนัข" หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" นั้น มีผลทำให้ประชาชนที่เพียงแต่ให้อาหารแก่สุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตา ต้องมีภาระหน้าที่ในการพาสุนัขจรจัดไปฝังไมโครชิปและจดทะเบียนสุนัข มิเช่นนั้นอาจทำให้บุคคลนั้นกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่หน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัด เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นกลับผลักภาระดังกล่าวมาให้กับประชาชน ดังนั้น การให้บทนิยามดังกล่าว ที่ให้หมายความรวมถึง "ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย" จึงเป็นข้อบัญญัติที่ 
1. สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
2. สร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร
3. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย




ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนข้อบัญญัติฯ ข้อ 5 เฉพาะที่ให้ความหมาย "เจ้าของสุนัข" ว่า ผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วยแต่ถ้าหมาไม่มีเจ้าของกัดคนใครต้องรับผิดชอบ เมื่อหมาจรจัดไม่มีเจ้าของ และจะไปบังคับคนที่เลี้ยงประจำมารับผิดชอบก็ไม่ได้ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ กรมปศุสัตว์ ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีที่ อ.1751/2559 ได้วินิจฉัยไว้ว่า เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์ ที่จะต้องรับผิดชอบในการจัดการดูแลสุนัขจรจัด ซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 




เมื่อสุนัขจรจัดไปทำลายทรัพย์สิน หรือรุมกัดผู้อื่นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น องค์การบริหารส่วนตำบล หรือกรมปศุสัตว์จึงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ตามมาตรา 67 และ มาตรา 68 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ให้ราชการผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับเอกชนผู้ฟ้องคดีนั้น (ขอบคุณบทความจากข่าวคมชัดลึก)