ส.ค.ส. ส่งความสุข

 ส.ค.ส. ย่อมาจาก ส่งความสุข เป็นบัตรอวยพรที่ส่งให้กันเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ สมัยก่อนคนไทยนิยมส่งถึงกันทำให้ในช่วงปีใหม่ทางไปรษณีย์ แต่ในปัจจุบันนี้เริ่มมีการส่ง ส.ค.ส. อิเล็กทรอนิกส์เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว 





ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทยเริ่มใน พ.ศ. 2409 หรือ ค.ศ. 1866 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพารและมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2409 ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ เดอะ บางกอก รีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409 ในระยะแรก ลักษณะ ส.ค.ส. ขนาดเล็กเท่านามบัตรปรากฏเฉพาะชื่อ ผู้ส่ง ตำแหน่ง และปีพ.ศ. เท่านั้น ตัวอักษร มีทั้งตัวพิมพ์ เขียนด้วยลายมือ ยุคต่อมามีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าโปสต์การ์ด หรืออาจใหญ่กว่า เป็นภาพวาดสีน้ำ มีสีสัน ลวดลายงดงาม ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกไม้ ผลไม้ และสัตว์ ส่วนคำอวยพร มีทั้งเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง ใช้คำที่แปลกออกไปจากปัจจุบันบ้าง เช่นคำว่า "ศุข" แทนคำว่า "สุข" คำว่า "รฤก" แทนคำว่า "ระลึก" และใช้คำว่า "ถ.ค.ส." เพื่อ "ถวายความสุข" แด่พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นอกจากส.ค.ส. อวยพรวันปีใหม่ไทย ยังปรากฏบัตรอวยพรเนื่องในวันตรุษฝรั่ง(วันคริสต์มาส  25 ธันวาคม)  และวันขึ้นปีใหม่สากล (1 มกราคม)




ส.ค.ส. ฉบับแรกของไทย


นับแต่ปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจมาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) มอบ ส.ค.ส. พระราชทานพรปีใหม่แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน และเริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชนให้แก่ปวงชนชาวไทย ต่อมาเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ส.ค.ส.พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร(แฟกซ์)พระราชทานไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส.พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง สะท้อนให้เห็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา  กระทั่งหนังสือพิมพ์รายวันได้นำลงตีพิมพ์ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคมเพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง (ส.ค.ส. พระราชทานปี2530-ปี2562)



ส.ค.ส. พระราชทานปี2530



ส.ค.ส. พระราชทานปี2531


ส.ค.ส. พระราชทานปี2532




ส.ค.ส. พระราชทานปี2533




ส.ค.ส. พระราชทานปี2534




ส.ค.ส. พระราชทานปี2535




ส.ค.ส. พระราชทานปี2536




ส.ค.ส. พระราชทานปี2537




ส.ค.ส. พระราชทานปี2538




ส.ค.ส. พระราชทานปี2539



ส.ค.ส. พระราชทานปี2540




ส.ค.ส. พระราชทานปี2541




ส.ค.ส. พระราชทานปี2542





ส.ค.ส. พระราชทานปี2543




ส.ค.ส. พระราชทานปี2544




ส.ค.ส. พระราชทานปี2545




ส.ค.ส. พระราชทานปี2546




ส.ค.ส. พระราชทานปี2547

ในปี พ.ศ.2548 ไม่มี ส.ค.ส. พระราชทาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิ จากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ.2547  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสว่า ปีใหม่ปีนี้ไม่ ส.ค.ส.พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ทรงทำงานอย่างหนักในการให้ความช่วยเหลือประชาชนชาวใต้ที่ได้รับความเดือดร้อน พระองค์ทรงรู้สึกปลื้มใจที่คนไทยไม่ทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ซึ่งการที่คนไทยได้ช่วยเหลือกันครั้งนี้เหมือนเป็นหลักประกันให้พระองค์ว่า เมื่อไรที่พระองค์เดือดร้อนก็จะมีคนมาช่วย สิ่งที่ทุกคนทำผลบุญก็จะส่งให้กับผู้ที่ให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนด้วย ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน ไม่รังเกียจว่าเป็นคนชนชาติไหน



ส.ค.ส. พระราชทานปี2549




ส.ค.ส. พระราชทานปี2550




ส.ค.ส. พระราชทานปี2551





ส.ค.ส. พระราชทานปี2552





ส.ค.ส. พระราชทานปี2553





ส.ค.ส. พระราชทานปี2554





ส.ค.ส. พระราชทานปี2555






ส.ค.ส. พระราชทานปี2556





ส.ค.ส. พระราชทานปี2557





ส.ค.ส. พระราชทานปี2558





ส.ค.ส. พระราชทานปี2559






ส.ค.ส. พระราชทานปี2560





ส.ค.ส. พระราชทานปี2561





ส.ค.ส. พระราชทานปี2562

จนถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นทรงราชย์ ก็พระราชทาน ส.ค.ส. ปี2563  เช่นเดียวกับในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 เพียงแต่ ส.ค.ส. จะแปลงเป็นบัตรอวยพร















ข้อมูลจาก กปร. และ วิกิพิเดีย